หมวดหมู่
หน้าหลัก       ยินดีต้อนรับสู่คลังความรู้ธุรกิจมุสลิมไทยโพสต์
หน้าแรก  | ข่าววันนี้  | ประเด็นดัง  | เรียนรู้อิสลาม  | ฮาลาล  | 
ชื่ออาหรับ  | เวลาละหมาด  | คลิบวิดีโอ  | ความรู้
 
ค้นหา
หากมีคำค้นหลายตัว สามารถคั่นด้วย comma (,)
หน้าหลัก >> ธุรกิจสปา >> น้ำมันหอมระเหย - อโรมาเทอราปี
พิมพ์หน้านี้  |  ส่งให้เพื่อน
การใช้ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยในอโรมาเทอราปี article

การใช้ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย (Essential Oils) ในอโรมาเทอราปี (Aromatherapy)

การใช้ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย (Essential Oils) 
ในอโรมาเทอราปี (Aromatherapy)

การใช้ประโยชน์ของ "น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils)" สามารถนำมาบำบัดโรคได้หลายวิธี แต่จากการค้นคว้าวิจัยระบุว่า  วิธีการเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับการระเหยและการสูดดมของ "น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils)" ผ่านจมูก  เพื่อให้โมเลกุลขององค์ประกอบกระตุ้นอวัยวะรับกลิ่นเพื่อออกฤทธิ์ผ่านระบบลิมบิก  "น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils)" จะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง  หรือถูกดูดซึมได้ในบริเวณต่ำ  เพราะต้องผ่านเซลล์หลายชั้น  ดังนั้นไม่ว่าจะผสมน้ำอาบ หรือนวดตัว ผลที่ได้รับมักจะมาจาการสูดดม  จะเห็นได้ว่าในทุกกรณีจะอาศัยความร้อนเข้าช่วย  เพื่อให้ "น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils)" กลายเป็นไอแพร่สู่อวัยวะรับกลิ่นภายในจมูกได้เร็วขึ้น การใช้ประโยชน์ของ "น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils)" ในอโมเทอราปี (Aromatherapy)  จึงมีประสิทธิภาพโดยให้ผลทั้งร่างกายและจิตใจ

การใช้ประโยชน์น้ำมันหอมระเหยในอโรมาเทอราปีทุกวันนี้มีผู้จำแนกไว้หลายวิธี เช่น การจำแนกประเภทของอโรมาเทอราปี (Aromatherapy) ตามวิธีการนำน้ำหอมระเหยไปใช้ได้คร่าว ๆ ดังนี้

"Cosmetic Aromatherapy"
การใช้ "น้ำมันหอมระเหย" ที่บริเวณใบหน้า ผิว ลำตัว และผม อาจทำได้โดยการอาบ ซึ่งเป็นวิธีง่ายและช่วยผ่อนคลาย  โดยเติม "น้ำมันหอมระเหย" ประมาณ 6-10 หยด  ลงในอ่างน้ำอุ่น โดยไม่ต้องเติมสบู่  จากนั้นจึงแช่ตัวประมาณ 20 นาที  ความร้อนจากน้ำจะช่วยในการดูดซึมผ่านปิวหนังและการดูดไอระเหยในขณะเดียวกัน

"Massage Aromatherapy"
การใช้ "น้ำมันหอมระเหย" โดยการนวด  เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากเพราะใช้น้ำมันประกอบการสัมผัส ผิวหนังจะมีพื้นที่ผิวในการดูดซับน้ำมันได้มาก ใช้โดยเจือจาง "น้ำมันหอมระเหย" ในน้ำมันที่เป็นกระสายยา ในความเข้นข้นประมาณ 5 %

 "Olfactory Aromatherapy"
การสูดดม "น้ำมันหอมระเหย" อาจเป็นการสูดดมโดยตรง หรือผสมลงในน้ำร้อนแล้วสูดไอหอมซึ่งจะช่วยทำให้ผ่อนคลาย

หรือการจัดแบ่งโดยการ "น้ำมันหอมระเหย" มาใช้ในรูปแบบที่ละเอียดขึ้นไปอีกได้แก่

"การนวด Massage"
เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับนัก "สุคนธบำบัด" อาชีพ  ซึ่งจะนวดร่างกาย "น้ำมันหอมระเหย" จะถูกเลือกให้เหมาะสมกับสภาพและอารมณ์ของคนไข้ ผสมกับน้ำมันอื่น เช่น  น้ำมันอัลมอนด์ หรือน้ำมันเมล็ดองุ่น  ปริมาณ "น้ำมันหอมระเหย" ที่ใช้อยู่ระหว่าง 1-3 % ขึ้นอยู่กับชนิดของอาการ แต่ต้องให้แน่ใจว่าน้ำมันได้ถูกดูดซึมผ่านผิวหนังและเข้าสู่กระแสโลหิต

โดยหลักทั่ว ๆ ไป โรคปวดในข้อ หรืออาหารไม่ย่อย ต้องใช้ความเข้มข้นมากกว่าโรคที่เกิ่ยวกับอารมณ์ประสาท การนวดด้วยตนเองต้องนวดเป็นจุดไป โดยเฉพาะ เท้า มือ และส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ทำให้ไม่สบาย เช่น นวดท้องตามเข็มนาฬิกาด้วยน้ำมันสะระแหน่ที่เจือจางแล้ว เพื่อช่วยระบบย่อยอาหาร

"น้ำมันและโลชั่นบำรุงผิว"
การเตรียม "น้ำมันหอมระเหย" เหมือนวิธีการนวด ยกเว้นควรเติมน้ำมันที่บำรุงลงไปด้วย เช่น น้ำมันโจโจบา อโวคาโด หรือแอปริคอท จุดประสงค์เพื่อรักษาผิวหนังที่มีปัญหาโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่การใช้นิ้วมือนวดเบาๆ เป็นวงกลมก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้น้ำมันซึมซาบเข้าผิวหนัง น้ำมันกุหลาบเหมาะกับผิวหนังที่แห้ง หรือเหี่ยวย่น น้ำมันมะกรูด หรือน้ำมันมะนาวช่วยรักษาสิว และผิวหน้าที่มัน

"น้ำมันหอมระเหย" 2-3 หยด ผสมกับครีมโลชั่นธรรมดา หรือเติมไปกับที่พอกหน้า เช่น ข้าวโอ๊ต น้ำผึ้งหรือโคลนกับผลไม้ต่าง ๆ ในบางกรณี เช่น  ติดเชื้อเฮอร์ปีส์ หรือน้ำกัดเท้า ควรใช้โลชั่นที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ หรือเหล้าวอดก้า 5 ซีซี. ทำให้เจือจางด้วยน้ำต้มเดือดและทิ้งให้เย็น 1 ลิตร สามารถรักษาแผลที่เปิดหรือตุ่มใสที่เกิดจากอีสุกอีใส หรือเชื้อเฮอร์ปีส์ที่อวัยเพศ

"การประคบร้อนหรือเย็น"
ได้ผลดีต่อการใช้ "น้ำมันหอมระเหย" เพื่อลดการปวดหรืออักเสบ 
การประคบร้อน ทำโดยเทน้ำร้อนจัดๆลงในอ่าง เติม "น้ำมันหอมระเหย" 4-5 หยด เอาผ้าที่พับแล้วจุ่มลงไป บีบน้ำออกพอหมาด ๆ วางลงบนว่านที่ต้องการจนรู้สึกผ้าเย็นก้ทำซ้ำ วิธีนี้มีประโยชน์ต่อการปวดหลัง ปวดตามข้อและกระดูกบวม ปวดหูและปวดฟัน

การประคบเย็น วิธีการเช่นเดียวกันแต่ใช้น้ำเย็นแทนน้ำร้อน เหมาะสำหรับโรคปวดศรีษะ เคล็ด เครียด และการบวมอักเสบ

"การบำรุงรักษาผม"
อาจจะใช้ "น้ำมันหอมระเหย" 2-3 หยด เมื่อสระผมครั้งสุดท้ายหรือผสมลงในแชมพู วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการบำรุงผม  ก็คือ ใช้ "น้ำมันหอมระเหย" ประมาณ 3% ผสมกับน้ำมันมะกอกกับโจโจบาหรือน้ำมันอัลมอนด์นวดให้ซึมหนังศีรษะและห่อด้วยผ้าขนหนูอุ่นๆ  ประมาณ 1-2 ชั่วโมง สำหรับน้ำมันโรสแมรี่ และน้ำมันคาโมมายด์ มีคุณสมบัติช่วยปรับสภาพและทำให้ผมงอก น้ำมันลาเวนเดอร์ช่วยไล่เหา น้ำมันมะกรูดช่วยขจัดและควบคุมรังแค

"การใช้ไอระเหย"
การใช้ที่เผาน้ำมันหรือที่กระจายกลิ่นหอมเป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้ห้องมีกลิ่นหอมแทนการใช้ธูปหอม ซึ่งก่อให้เกิดฝุ่นหรือควัน  แต่ต้องวางในที่ที่ปลอดภัยและห่างจากเด็กหรือสัตว์เลี้ยง อาจจะหยด "น้ำมันหอมระเหย" ลง 2-3 หยด ที่ขอบโป๊ะหลอดไฟฟ้า หรือหยดลงในชามน้ำที่วางบนเครื่องที่ให้ความร้อน น้ำมันตะไคร้หรือตะไคร้หอมใช้ไล่แมลงและขจัดกลิ่นของบุหรี่   น้ำมันกำยาน หรือน้ำมันยูคาลิปตัส ใช้ในห้องนอนเพื่อช่วยแก้ปัญหาการหายใจขัดหรือแก้ไอในเด็ก

"การสูดไอน้ำ"
วิธีนี้เหมาะกับคนที่เป็นไซนัส หรือติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ โดยเอาผ้าคลุมศีรษะและอ่างที่ใส่น้ำร้อนผสม น้ำมันสะระแหน่หรือน้ำมันไทม์ประมาณ 5 หยด สูดหายใจลึกๆ 1 นาที และทำซ้ำ วิธีนี้อาจใช้อบหน้าได้โดยใช้น้ำมันมะนาวแทน ซึ่งจะช่วยเปิดรูที่อุดตันและลบริ้วรอยบนใบหน้า

"การใช้ภายใน"
เนื่องจาก "น้ำมันหอมระเหย" เข้มข้นมาก ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ อย่างไรก็ตามเนื่องจาก "น้ำมันหอมระเหย" สามารถถูกดูดซึมเข้าในร่างกายได้ง่ายจึงมีผลต่ออวัยวะภานใน การใช้ภายนอกในกรณีที่เป็นโรคข้ออักเสบ ซึ่งเกิดจาการสะสมพิษที่ข้อต่อการใช้น้ำมันบางชนิด เช่น น้ำมันไพล น้ำมันนิเปอร์ หรือนำมันเบริร์ชสามารถไปชำระล้างพิษ และขณะเดียวกันก็ลดการปวดและอักเสบได้

ที่มา http://www.yesspathailand.com/น้ำมันหอมระเหย/ประโยชน์น้ำมันหอมระเหย-อโรมาเทอราปี.html

 
  เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :-
 
  เนื้อหาที่คุณอาจกำลังค้นหา :-
บทความที่น่าสนใจ
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
340 ลาดพร้าว 112 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร 0-2514-0593 แฟ็กซ์ 0-2538-4215 Email : [email protected]

Warning: include(../../main/globalsitemap.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/muslimpo/public_html/business/main/index.php on line 214

Warning: include(): Failed opening '../../main/globalsitemap.php' for inclusion (include_path='.:/usr/lib/php:/usr/local/lib/php') in /home/muslimpo/public_html/business/main/index.php on line 214