วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหย และสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย
วิธีการใช้ "น้ำมันหอมระเหย" และ "สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย" มีหลากหลายวิธี เราควรจัดกลิ่นของ "น้ำมันหอมระเหย" ให้เหมาะสมกับผู้ใช้ อีกทั้ง "น้ำมันหอมระเหย" ยังสามารถเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติกับจิตวิญญาณของผู้ใช้แต่ละบุคคล
วิธีการใช้ "น้ำมันหอมระเหย" ผ่านทาง "ผิวหนัง"
- สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย
- ระงับเชื้อจากบาดแผล แมลงกัดต่อย ฯลฯ เช่น น้ำมันไทม์ น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันการพลู น้ำมันลาเวนเอร์ และน้ำมะนาว
- แก้อาการอักเสบ สำหรับแผลพุพอง บาดแผลติดเชื้อ กระทบกระแทก ฟกช้ำ ฯลฯ เช่น น้ำมันคาโมไมล์ และน้ำมันลาเวนเดอร์
- ฆ่าเชื้อรา โรคน้ำกัดเท้า ขี้กลาก เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันกุหลาบและน้ำมันเจอร์เรเนียม
- ระงับกลิ่น ผู้ที่มีกลิ่นออกมาก ทำความสะอาดบาดแผล เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันไทม์ และน้ำมันตะไคร้
- ไล่แมลงและฆ่าปรสิต พวกเหา หมัด ยุง มด ฯลฯ เช่น น้ำมันกระเทียม น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันการพลู และน้ำมันไม้ซีดาร์
วิธีการใช้ "น้ำมันหอมระเหย" ผ่านทาง "ระบบการไหลเวียน กล้ามเนื้อ และข้อต่อ" "น้ำมันหอมระเหย" ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ตามแระแสโลหิตได้ง่ายทางผิวหนังและเยื่อบุ ทำให้กระจายไปทั่วร่างกาย น้ำมันหอมระเหยที่ทาแล้วร้อนไม่มีผลเพียงแต่การไหลเวียนของโลหิตเท่านั้น แต่มีผลต่ออวัยวะภายในด้วย ความร้อนทำให้เส้นโลหิตขยายจึงมีผลในการลดอาการบวมน้ำ
- สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย
- ลดความดันโลหิต ความเครียด ฯลฯ เช่น น้ำมันกระดังงา น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันมะนาว
- เพิ่มความดัน สำหรับคนที่มีโลหิตไหลเวียนไม่ดี โรคหิมะกัดเท้า เซื่องซึม ฯลฯ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันสะระแหน่ และน้ำมันลาเวนเดอร์
- ปรับการไหลเวียนของโลหิต สำหรับแก้บวม อักเสบ ฯลฯ เช่น น้ำมะนาว
วิธีการใช้ "น้ำมันหอมระเหย" ผ่านทาง "ระบบหายใจ" "น้ำมันหอมระเหย" เหมาะที่จะรักษาการติดเชื้อทางจมูก ลำคอ และปอด เพราะใช้สูดดม ตัวยาก็จะผ่านไปถึงปอดซึ่งจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้เร็วกว่าให้ยาโดยการรับประทาน
- สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย
- ขับเสมหะสำหรับหวัด ไซนัส ไอ ฯลฯ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันสน น้ำมันจันทน์ และน้ำมันยี่หร่า
- คลายกล้ามเนื้อกระตุกในโรคหืด ไตแห้ง ไอกรน ฯลฯ เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันคาโมไมล์ และน้ำมันมะกรูด
- ฆ่าเชื้อสำหรับไข้หวัดใหญ่ เจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ ฯลฯ เช่น น้ำมันสน น้ำมันยูคาลิปตัส และน้ำมันพิมเสน
วิธีการใช้ "น้ำมันหอมระเหย" ผ่านทาง "ระบบย่อยอาหาร" "น้ำมันหอมระเหย" ที่ใช้สำหรับระบบนี้ค่อนข้างมีขอบเขตจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับยาที่ใช้รับประทาน
- สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย
- แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเนื่องจากปวดท้องอาหารไม่ย่อย ฯลฯ เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิง และน้ำมันกระเทียม
- ขับลมและแก้ปวดท้องเนื่องจากมีกรดมาก คลื่นไส้ เช่น น้ำมันกะเพรา และน้ำมันสะระแหน่
- ขับน้ำดี เพื่อเพิ่มน้ำดีและกระตุ้นการทำงานของถุงน้ำดี เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันสะระแหน่
- ทำให้เจริญอาหาร เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันขิง และน้ำมันกระเทียม
วิธีการใช้ "น้ำมันหอมระเหย" ผ่านทาง "ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบต่อมไร้ท่อ" "น้ำมันหอมระเหย" มีผลต่อระบบนี้โดยการดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตหรืออาจจะไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน
- สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย
- แก้กล้ามเนื้อเกร็ง สำหรับปวดท้องประจำเดือน ปวดท้องตอนใกล้คลอด ฯลฯ เช่นน้ำมันคาโมไมล์ น้ำมันมะลิและน้ำมันลาเวนเดอร
- ขับระดู สำหรับผู้มีประจำเดือนน้อยหรือไม่มี เฃ่น น้ำมันคาโมไมล์ และน้ำมันสะระแหน่
- ขับน้ำนม เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันมะลิ และน้ำมันตะไคร้
- ปลุกกำหนัดสำหรับกามตายด้านหรือไม่ค่อยรู้สึก เช่น น้ำพริกไทยดำ น้ำมันกระวาน น้ำมันมะลิ น้ำมันกุหลาบ น้ำมันกระดังงา และน้ำมันไม้จันทน์
- ลดความกำหนัด เช่น น้ำมันการบูร
วิธีการใช้ "น้ำมันหอมระเหย" ผ่านทาง "ระบบภูมิคุ้มกัน" ส่วนใหญ่ "น้ำมันหอมระเหย" มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเพิ่มการผลิตเม็ดเลือดขาว
- สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย
- ป้องกันเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ทำให้ไม่เป็นหวัด เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันกะเพรา น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันการบูร และน้ำมันกานพลู
- ใช้ลดไข้ เช่น น้ำมันกะเพรา น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันมะนาว และน้ำมันยูคาลิปตัส
วิธีการใช้ "น้ำมันหอมระเหย" ผ่านทาง "ระบบประสาท" ได้มีการพิสูจน์แล้วว่า "น้ำมันหอมระเหย" หลายชนิดมีผลต่อระบบประสาท เช่น น้ำมันไม้จันทน์ น้ำมันมะกรูด และน้ำมันลาเวนเดอร์ มีผลสงบระงับประสาทส่วนกลาง น้ำมันมะลิ น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันกะเพรา น้ำมันกานพลู และน้ำมันกระดังงา มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท
วิธีการใช้ "น้ำมันหอมระเหย" ผ่านทาง "ระบบจิตใจ" "น้ำมันหอมระเหย" มีอิทธิพลทางด้านจิตใจมาช้านานแล้ว นับตั้งแต่การใช้ศาสนพิธีและพิธีกรรมต่างๆ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่ากลิ่นมีผลต่อสมองและอารมณ์ ผลของกลิ่นมีต่อบุคคลขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการดังนี้
- วิธีที่ใช้
- ปริมาณที่ใช้
- สภาวะที่กำลังใช้อยู่
- สภาวะของบุคคลที่ใช้ ( อายุ เพศ บุคคลิก )
- อารมณ์ในขนะที่จะใช้
- ความรู้สึกในอดีตเกี่ยวกับกลิ่นที่จะใช้
- ความไม่รับรู้ต่อกลิ่นบางอย่าง
ดังนั้นเราจำเป็นต้องจัดกลิ่นของ "น้ำมันหอมระเหย" ให้เหมาะสมกับผู้ใช้เสมอ อีกทั้ง "น้ำมันหอมระเหย"ยังสามารถแสดงความเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติกับจิตวิญญษณของผู้ใช้แต่ละบุคคลอีกด้วย
•อย่างไรก็ตามเนื่องจาก "น้ำมันหอมระเหย" ที่สกัดได้จากพืช จะมีความเข้มข้นสูงมาก ดังนั้นต้องมีน้ำมันที่ใช้เป็นน้ำมันกระสายยาหรือตัวพา (Carrier Oil) เจือจางก่อนจะใช้ ทั้งนี้ "น้ำมันกระสายยา" ที่จะนำมาใช้จะต้องไม่บดบังกลิ่นของ "น้ำมันหอมระเหย" และสามารถผสมเข้ากันได้ดี "น้ำมันกระสายยา" ที่เด่น ๆ เช่น Almand Oil, Avocado Oil แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือ Almond Oil เพราะมีกลิ่นอ่อนและมีความหนืดที่พอเหมาะ ในกรณีที่ใช้ในอโรมาเทอราปี โดยการนวด "น้ำมันกระสายยา" เหล่านี้จะมีประโยชน์มากเนื่องจากมีปริมาณของวิตามิน A และ E อยู่จำนวนมากและช่วยทำให้ผิวชุ่มชื่น
|