หลายท่านคงได้ชมภาพยนตร์โฆษณาชุด “Make THE Difference” จาก TMB ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ต้องการกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนไทย กล้าที่จะคิดและลงมือทำในสิ่งที่ “แตกต่าง” อย่าง “สร้างสรรค์” พร้อมจุดประกายให้ทุกคนในสังคมพลิกมุมมอง ความคิด และลุกขึ้นมาท้าท้าย “ความเป็นไปไม่ได้” ให้กลายเป็น “ความเป็นไปได้” โดยหยิบยกเรื่องราวของทีมฟุตบอลแห่งเกาะปันหยีที่ก่อตั้งขึ้นจากเพียงความฝันที่อยากจะเล่นฟุตบอลของเด็กกลุ่มหนึ่ง แต่ด้วยสภาพพื้นที่ ที่เป็นเกาะกลางทะเลที่ไม่มีแม้แต่ผืนดิน แต่ความฝันของพวกเขาได้กลายเป็นความจริง จากความมุมานะพยายามและความท้าทายต่ออุปสรรค จนทำให้ทีมฟุตบอลเกาะปันหยีสามารถเป็นแชมป์ภาคใต้หลายสมัยได้ในที่สุด
ที่มาของแนวคิด “Make THE Difference - พลังในตัวคุณ เปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น” เกิดขึ้นจากการที่เราเชื่อมั่นว่าทุกคนล้วนมี “พลัง” ที่จะคิดและทำสิ่งที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์และมีคุณค่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะสามารถ “เปลี่ยน” โลกของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกจากจะส่งผลที่ดีกับตนเองแล้ว ยังสามารถส่งผลดีขยายต่อไปยังคนรอบข้าง หรือแม้แต่สังคมโดยรวมได้อีกด้วย โดยจุดหมายปลายทางของแนวคิดนี้ TMB ต้องการสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้คนไทยทุกคน “กล้า” ที่จะคิดและทำสิ่งที่ “แตกต่าง” เพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เพียงขอให้เริ่มต้นจากตัวเอง
การทำธุรกิจก็เช่นกัน การสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการที่เหนือกว่าคู่แข่ง เป็นกลยุทธ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าสามารถทำให้ธุรกิจนั้นๆ พิชิตใจของลูกค้าได้ ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะใหญ่หรือเล็ก อย่างไรก็ตามในการพัฒนาสินค้าและบริการที่แตกต่าง หรือการมีแนวคิดที่แตกต่างในการบริหารธุรกิจ เจ้าของกิจการต้องมีพลังแห่งความกล้าและมุ่งมั่นที่จะคิดและลงมือทำในสิ่งที่แตกต่างให้กับธุรกิจของตน เพราะในการทำสิ่งที่แตกต่างนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนเริ่มคิดก็มักจะติดกับดักแห่งความเชื่อและความคิดที่ว่า “เป็นไปไม่ได้หรอก” ทั้งที่ยังมิได้ลงมือทำ และในท้ายสุดก็ล้มเลิกความคิดนั้นๆ จึงเห็นได้ว่าในการทำสิ่งที่แตกต่างนั้น ต้องใช้ความกล้าที่คิดว่า “เป็นไปได้” และมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จให้จงได้ แม้ว่าจะมีอุปสรรคมากมายเพียงไร ก็ไม่ย่อท้อหรือล้มเลิก และในที่สุดแล้วก็จะได้รับความสำเร็จอย่างแน่นอน ดังเช่นบุคคลตัวอย่างและยิ่งใหญ่ของโลก นามว่า เอดิสัน ผู้ประดิษฐ์ไส้หลอดไฟ ซึ่งเป็นผู้มุ่งมั่นและไม่ล้มเลิกในการทำสิ่งที่ดูเหมือน “เป็นไปไม่ได้” ในขณะนั้นให้ “เป็นไปได้” กล่าวคือ เอดิสัน ขณะที่กำลังคิดค้นประดิษฐ์ไส้หลอดไฟยังไม่สำเร็จ แล้วมีคนถามว่า “ทำมาตั้งสองพันกว่าวิธี ยังทำไม่สำเร็จอีกเหรอ” เอดิสันก็ยังไม่ยอมย่อท้อ และยังตอบกลับไปว่า “อย่างน้อย ผมก็ได้ค้นพบสองพันกว่าวิธีที่ไม่เหมาะจะทำไส้หลอดไฟ” ซึ่งในที่สุดแล้ว เอดิสันก็สามารถประดิษฐ์ไส้หลอดไฟได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้ทุกวันนี้ชื่อของเอดิสัน ยังคงเป็นที่จดจำ และแสงสว่างจากหลอดไฟก็ได้ให้ประโยชน์นานัปการแก่มวลมนุษยชาติตลอดมา หรือตัวอย่างใกล้ตัวของธุรกิจ เมื่อเห็นประเทศที่มีแต่คนใส่โสร่ง คนทั่วไปอาจคิดว่าไม่มีโอกาสจะขายกางเกงยีนส์ในตลาดนั้นได้ แต่นักธุรกิจที่คิดต่างกลับมองเห็นโอกาสนั้นและมุ่งมั่นที่จะทำให้ธุรกิจกางเกงยีนส์เติบโตได้ที่นั่น
สำหรับ TMB เอง ได้ยึดหลักแนวคิดในการออกผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง โดยทำใน “สิ่งที่เป็นไปไม่ได้” ให้ “เป็นไปได้” จึงทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเหลือ SMEs ที่มีปัญหาเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่ว่าจะเป็น “สินเชื่อ 3 เทา TMB SME” และ “โอดีไมตองใชหลักประกัน TMB SME” ซึ่งเดิมผู้ประกอบการและระบบธนาคารเอง อาจจะคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะเสนอสิ่งนี้ให้กับผู้ประกอบการ SMEs ได้ แต่ TMB SME ก็ได้ฉีกกรอบความคิดนี้ และทำให้ได้เห็นแล้วว่า “เป็นไปได้” และก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดียิ่งจาก SMEs และทำให้ธุรกิจของ SMEs เติบโตได้อย่างที่ต้องการ
“ต้องคิดต่าง ทำต่าง อย่างสร้างสรรค์” จึงเป็นหัวใจของความสำเร็จ ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะใหญ่หรือเล็กก็ตาม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องมีความกล้าที่จะคิด และมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ แม้ว่าจะพบอุปสรรคมากมายเพียงใดก็ตาม...และผมก็เชื่อมั่นว่าความสำเร็จของ SMEs ไทย จะเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตต่อไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง
ที่มา http://www.tmbbank.com/business/sme/advertorial/detail.php?id=4