หมวดหมู่
หน้าหลัก       ยินดีต้อนรับสู่คลังความรู้ธุรกิจมุสลิมไทยโพสต์
หน้าแรก  | ข่าววันนี้  | ประเด็นดัง  | เรียนรู้อิสลาม  | ฮาลาล  | 
ชื่ออาหรับ  | เวลาละหมาด  | คลิบวิดีโอ  | ความรู้
 
ค้นหา
หากมีคำค้นหลายตัว สามารถคั่นด้วย comma (,)
หน้าหลัก >> การตลาด >> Nanosoft Article : บทความทางธุรกิจ
พิมพ์หน้านี้  |  ส่งให้เพื่อน
การบริหารภาษี (Nanosoft Marketing Series)
      สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีนั้น มนุษย์เงินเดือนเต็มตัวดูจะไม่ค่อยเดือดร้อนเท่าไหร่ เพราะบริษัทยื่นภาษีให้อยู่แล้ว แต่กลุ่มที่ทำงานกินเงินเดือนและทำธุรกิจหรือมีรายได้ทางอื่น ๆ หลายทางแล้วต้องยื่นภาษีเองก็คงวุ่นวายมากน้อยต่างกันตามปริมาณเงินได้ สำหรับเจ้าของกิจการ SMEs โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการขนาดเล็กจริง ๆ ซึ่งในแต่ละปีมีกิจการเกิดใหม่จำนวนมาก บางคนจากมนุษย์เงินเดือนมาเป็นเถ้าแก่เอง โดยไม่เคยยื่นเสียภาษีเองมาก่อน จะเริ่มต้นอย่างไร มาต้องยื่นเสียภาษีได้หรือไม่ คำถามนี้คงอยู่ในใจเจ้าของกิจการมือใหม่หลายท่าน

     ผมขอตอบข้อสงสัยของผู้ประกอบการก่อนว่า ต้องยื่นภาษีหรือไม่ บางคนเข้าใจว่าเวลารับของเข้ามาขายบริษัทผู้ขายบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว หรือผู้ประกอบการบางรายขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าที่เป็นบริษัทเวลารับเงินก็จะโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายไปจากวงเงินที่ได้รับและเข้าใจว่าตัวเองเสียภาษีไปแล้วเลยไม่ต้อง ยื่นเสียภาษีอีก ซึ่งหล่านี้เป็นความเข้าใจผิดหรือบางท่านแกล้งเข้าใจผิด

     สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน โดยทำธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดา รายได้จากการทำธุรกิจของท่านจะต้องนำมายื่น เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยใช้แบบ ภงด.90 ซึ่งต่างจากผู้มีเงินได้ในรูปแบบเงินเดือนอย่างเดียวจะใช้แบบ ภงด.91 ตามที่คนกินเงินเดือนทั่ว ๆ ไป ยื่นกันอยู่ พวกลูกผสมคือกินเงินเดือนประจำจากบริษัทด้วยและเป็นเจ้าของกิจการด้วยจะต้องใช้ ภงด.90 ยื่นโดยนำเงินเดือนประจำมายื่นรวมด้วยครับ


     ในการเสียภาษีนั้น เราต้องเสียเท่าไร ? นี่เป็นประเด็นที่หลายคนสงสัย คำตอบก็คือเสียเท่ากับรายได้ที่ได้รับทั้งปีหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ เหลือเป็นรายได้สุทธิ ( ที่สรรพกรเรียกว่าเงินได้สุทธิ) แล้วนำมาเข้าตารางคำนวณในรูปอัตราก้าวหน้า คือเสียภาษีตั้งแต่ 0% ถึงอัตราสูงสุด 37% จากรายได้สุทธิ โดยที่รายได้สุทธิยิ่งมากท่านก็ยิ่งต้องเสียภาษีในอัตราสูงขึ้น

   รายได้สุทธิต่อปี (นับจาก 1 ม.ค. – 31 ธ.ค.) ตั้งแต่ 1-50,000 บาทแรก รัฐบาลจะไม่เก็บภาษีครับ (เข้าข่ายเป็นคนจน ทะเบียนคนจนเสียด้วยซ้ำ) ในอัตราส่วน 50,000 บาทถัดมาคือเงินได้ตั้งแต่ 50,001-100,000 บาทถัดมาเสีย 5% ของเงินได้โดยไม่ต้องนำ 50,000 แรกมาคำนวณครับ

   สำหรับขั้นต่อมา 100,001-500,000 บาทจะต้องเสีย 10% ของรายได้ ขั้น 501,000-1,000,000 บาทเสีย 20% ขั้น 1,000,001-4,000,000 บาทเสีย 30% ส่วนที่เกิน 4 ล้านบาทขึ้นไปเสีย 37%

   ซึ่งอัตราภาษีนี้ ผู้มีรายได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะต้องยื่นเสียภาษีไม่ว่าจะเป็นลูกจ้าง พนักงานบริษัทหรือเจ้าของกิจการเพียงแต่ว่ารายได้จากการทำธุรกิจ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ก่อน ส่วนที่เหลือค่อยเป็นรายได้สุทธิ แต่คำว่าหักค่าใช้จ่ายนี้ บางท่านสงสัยว่าหักอย่างไร หักได้เท่าไร ต้องมีหลักฐานอะไรมาหักภาษี 

    หลักฐานก็คือ ท่านมีสิทธิเลือกว่าจะหักภาษีแบบเหมาหรือหักตามค่าใช้จ่ายจริง ตามตารางการหักค่าใช้จ่ายของสรรพกร ซึ่งขอดูได้จากแบบ ภงด.90 ที่สรรพกรทุกแห่ง ผมแนะนำว่าเพื่อให้สะดวกในการยื่นภาษี จ่ายเหมาดีกว่าครับ เช่นถ้าท่านทำธุรกิจร้านกิ๊ปซอป ก็จะต้องหักค่าใช้จ่ายได้ 80% ของรายได้ เหลือแค่ 20% เป็นกำไรสุทธิที่ต้องมาเป็นฐานคำนวณภาษี ถ้าท่านทำธุรกิจขายอาหาร เครื่องดื่ม ก็จะหักค่าเหมาจ่ายได้ 70% เป็นต้น


     ปกติแล้ว ธุรกิจขนาดย่อมถ้าเป็นประชาชนทั่วไป จะไม่ค่อยแจ้งรายได้จริงกับสรรพกรเพราะเมื่อขายสินค้าลูกค้าก็จะไม่ได้ขอใบเสร็จรับเงินทำให้สรรพกร ตรวจสอบภาษียาก แต่ธุรกิจประเภทขายสินค้าหรือบริการให้กับบริษัท เช่น รับเหมาจัดอาหารให้งานเลี้ยงงานประชุมของบริษัท ขายกระเช้าปีใหม่ให้บริษัท โดยทางบริษัทที่เป็นลูกค้าหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ โดยขอสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของท่านในฐานะผู้รับเงินไว้ ทางบริษัทเขาต้องรวบรวมยื่นเสียภาษีกับสรรพกรดังนั้น เราต้องนำเอกสารใบรับรองการหักภาษีกับสรรพกร เอกสารใบรับรองของการหักภาษีที่บริษัทลูกค้าออกให้มายื่นเสียภาษีประจำปีของเราด้วย ถ้าไม่เสียก็ถือว่าหลบภาษี หากสรรพกรตรวจพบ ซึ่งส่วนหนึ่งตรวจจากเอกสารที่บริษัทลูกค้าของเรายื่นเสียภาษีไว้ เราก็โดนปรับและต้องเสียภาษีย้อนหลัง

     การเสียภาษีให้ถูกต้องนั้นนอกจากเป็นหน้าที่ที่ควรทำแล้ว จะช่วยผู้ประกอบการขนาดย่อมให้มองเห็นภาพรายรับ-รายจ่ายต่อปีของตนได้อย่างชัดเจนขึ้น และยังมีหลักฐานรายรับ-รายจ่ายที่ยื่นไว้กับสรรพกรเป็นหลักฐานข้อมูลที่นำไปให้สถาบันการเงินพิจารณาประกอบการขอสินเชื่อได้ จะว่าไปแล้วธุรกิจขนาดเล็กทำในรูปบุคคลธรรมดา ถ้าลองคำนวณภาษีที่ต้องเสียได้ ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่น่าจะเสียในอัตราประมาณ 10 % ของรายได้สุทธิ ซึ่งไม่ได้มากมายหนักเมื่อเทียบกับกำไรที่ได้รับและไม่ต้องเสี่ยงกับ การโดนปรับหรือตรวจสอบภาษีย้อนหลังซึ่งสำหรับกรมสรรพกรยุคนี้นำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจสอบต่าง ๆ น่าจะทำได้รวดเร็วกว่าเดิมมาก

     สำหรับกิจการที่มีรายได้สุทธิสูงกว่าปีละ 4 ล้าน จนต้องเสียภาษีในอัตราปีละ 37% แล้วละก็ ถ้าท่านทำถูกต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทดีกว่าเพราะจะเสียภาษี จากรายได้สุทธิในอัตราที่ต่ำกว่าและการหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในการดำเนินธุรกิจจะทำได้ง่ายกว่าและมากกว่าการขอยื่นในรูปบุคคลธรรมดา

     นอกจากนี้การทำธุรกิจในรูปบริษัท จะช่วยให้ภาพลักษณ์ของกิจการดูดี น่าเชื่อถือสำหรับลูกค้าและสถาบันการเงิน(หากต้องการขอกู้) มากกว่าการทำธุรกิจ ในลักษณะบุคคลธรรมดาด้วยครับ
ที่มา http://www.nanosoft.co.th/maktip22.htm
 
  เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :-
 
  เนื้อหาที่คุณอาจกำลังค้นหา :-
บทความที่น่าสนใจ
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
340 ลาดพร้าว 112 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร 0-2514-0593 แฟ็กซ์ 0-2538-4215 Email : [email protected]

Warning: include(../../main/globalsitemap.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/muslimpo/public_html/business/main/index.php on line 214

Warning: include(): Failed opening '../../main/globalsitemap.php' for inclusion (include_path='.:/usr/lib/php:/usr/local/lib/php') in /home/muslimpo/public_html/business/main/index.php on line 214