หมวดหมู่
หน้าหลัก       ยินดีต้อนรับสู่คลังความรู้ธุรกิจมุสลิมไทยโพสต์
หน้าแรก  | ข่าววันนี้  | ประเด็นดัง  | เรียนรู้อิสลาม  | ฮาลาล  | 
ชื่ออาหรับ  | เวลาละหมาด  | คลิบวิดีโอ  | ความรู้
 
ค้นหา
หากมีคำค้นหลายตัว สามารถคั่นด้วย comma (,)
หน้าหลัก >> การตลาด >> Nanosoft Article : บทความทางธุรกิจ
พิมพ์หน้านี้  |  ส่งให้เพื่อน
การเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตที่กำลังจะมาถึง
    สภาพแวดล้อมในปัจจุบันทุก ๆ ข้อมูลล้วนบ่งบอกวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเข้ามาเยือน ซึ่งหลายสำนักก็เป็นห่วงว่า จะอาการหนักกว่าปี พ.ศ.2540 ที่ผ่านมา เนื่องจากว่าปัญหาที่เข้ามารุมเร้านั้นมากมายเหลือเกิน และน่าจะมากกว่าอดีตที่ผ่านมาเช่น ปัญหาราคาน้ำมันที่แพงมากๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน , ปัญหาความแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรงซึ่งมีผลอย่างมากต่อความเชื่อมั่น, ปัญหา "ข้าวยากหมากแพง" ซึ่งส่งผลทำให้อัตราเงินเฟ้ออาจจะมีตัวเลขสูง ถึงร้อยละ 10 , การแก้ปัญหาที่ยังไม่ชัดเจนของภาครัฐ, ทำให้อดเป็นห่วงผู้ประกอบการรายย่อยไม่ได้เลย วันนี้จึงขอเสนอบทความซึ่งเป็นคำแนะนำของผู้ที่มีประสบการณ์ ผ่านวิกฤตมา แล้วหลายครั้ง ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถเป็นข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการได้ใช้ เพื่อการเตรียมพร้อมรับมือ และต่อสู้กับสภาวะวิกฤตที่กำลังจะมาเยือน ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจ ให้ผู้ประกอบการทั้งหลายโดยหวังว่า ผู้ประกอบการจะสามารถยืนหยัดอยู่ต่อไปได้โดยได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุด สิ่งสำคัญที่ต้องคอยเตือนตัวเองตลอดเวลาคือ อย่ารอคอยความหวังจากคนอื่น แต่เราต้องหาทางช่วยตัวเองด้วยตัวเองก่อน

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่งในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย 

- อย่าลงทุนสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่จำเป็นในช่วงนี้ เช่น ไม่มีการลงทุนในการขยายสาขา , ไม่ควรลงทุนในสินค้าใหม่หรือแนะนำสินค้าใหม่ , การลงทุนในสินทรัพย์ ถาวรที่ไม่จำเป็นหรือถ้าจำเป็นต้องคิดว่าจะเลื่อนได้หรือไม่ หรือถ้าจำเป็นจริง ๆ อาจจะต้องคิดเป็นการเช่าแทน , ไม่ทุ่มงบประมาณในการทำโฆษณาเพราะไม่สอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง เป็นต้น 

- ไม่ควรกู้เงินเข้ามาเพิ่มภาระ ควรพยายามบริหารด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัดที่มีและใช้นโยบายการต่อรองเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่มีให้มากที่สุด 

- ถ้ามีความจำเป็นที่ต้องลงทุนต้องไม่ควรเกินร้อยละ 30 ของเงินสดที่มีในมือ ถ้าเกินร้อยละ 30 ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าสมควรลงทุนหรือไม่ เพื่อให้มีเงินสดคงเหลือให้มากที่สุดสำหรับการรองรับสภาวะฉุกเฉินและสภาวะเศรษฐกิจวิกฤตได้ยาวนานที่สุด เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะนานแค่ไหน 


สิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย 

- ควรให้เวลาอย่างมากและใกล้ชิดกับธุรกิจให้มากที่สุดเท่าที่จะให้ได้ เช่น การมาทำงานเช้ามากขึ้นและกลับบ้านช้ามากขึ้น , การพูดคุยกับหัวหน้างานต่าง ๆ 

- การมองหาแนวทางที่จะลดค่าใช้จ่ายขององค์กร เช่น การมองหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาจ่ายเงินกู้ดอกเบี้ยสูง หรือการปิดบัญชี OD ที่ทำกับธนาคาร ซึ่งมีเงินสดค้ำประกันเพื่อลดค่าใช้จ่ายอัตราดอกเบี้ยส่วนต่าง , การประชุมทุกส่วนงานและขอให้ทุก ๆ กลุ่มช่วยกันคิดหาแนวทางเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และ บอกให้ทุก ๆ คนรับทราบถึงภัยทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดหรือกำลังจะมาหาให้เข้าใจ จะสามารถทำให้ทุก ๆ คนเต็มใจและยินดียอมรับนโยบายการประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะทุก ๆ คนมีประสบการณ์มาแล้ว เนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหานี้มาแล้วหลายครั้งในระยะเวลาไม่กี่ปีมานี้ จึงเป็นการง่ายที่จะให้ทุก ๆ คนมีส่วนร่วม 

- การป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตเกิดขึ้นในองค์กร นี่คือสิ่งหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้และจะทำให้เกิดการเพิ่มรายได้หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ให้องค์กรได้โดยไม่เสียเงิน มีแต่ได้เท่านั้นและวิธีง่าย ๆ ที่จะตรวจสอบคือการเรียกดูเรื่องต่าง ๆ อย่าอนุมัติอะไรง่ายเกินไป หรืออย่าอนุมัติอะไรโดยไม่ดูรายละเอียดให้รอบคอบก่อน หรือควรสอบถามข้อมูลทางเลือกอื่น ๆ มาเปรียบเทียบดู สิ่งเหล่านี้คือวิธีการง่าย ๆ แต่ได้ผลแน่นอน และให้ตระหนักไว้เสมอว่า"การทุจริตในองค์กร คือบ่อเกิดของ ความหายนะ" 

- การมองหากลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ ในสภาวะวิกฤตดูเหมือนจะยากมาก ๆ ในการมองหาโอกาสเพิ่มรายได้ แต่ไม่ยากจนเกินความสามารถของคนที่มี ความพยายาม มีความคิดใหม่ ๆ แบบสร้างสรรค์ คนที่มีความอดทนและขยัน
     กลยุทธ์ง่าย ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้ในยุคนี้ก็คือ การหาพันธมิตรทางธุรกิจ และการหาเครือข่ายการขายเพิ่มมากขึ้น หรือมีพื้นที่การขายเพิ่มมากขึ้น หรือมีอาณาเขตการขายเพิ่มมากขึ้น เช่น การขยายการขายไปสู่ต่างประเทศโดยอาศัยพันธมิตรทางธุรกิจที่เขามีเครือข่ายอยู่แล้วและกำลังต้องการสินค้าเพิ่มพอดี 

     เพราะบนสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุก ๆ หน่วยงาน ดังนั้นทุก ๆ คนก็กำลังมองหาสิ่งที่จะมาเสริม หรือสิ่งที่จะมาช่วยเพิ่มรายได้ ด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นถ้าเราสามารถมองหาคนที่สามารถทำงานร่วมกันแล้วเสริมให้มีจุดแข็งเพิ่มมากขึ้น หรือช่วยให้มีช่องทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น หรือช่วยให้มีสินค้าเพิ่มมากขึ้น และไม่ได้เพิ่มความยุ่งยาก หรือไม่ได้เพิ่มค่าใช้จ่าย แน่นอนถ้ามีความร่วมมือกันได้ลงตัวผลที่จะเกิดคือ สิ่งดี ๆ เกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย หรือรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นทั้งสองฝ่าย หรือลดค่าใช้จ่ายให้ทั้งสองฝ่ายได้ เป็นต้น 
ที่มา http://www.nanosoft.co.th/maktip47.htm
 
  เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :-
 
  เนื้อหาที่คุณอาจกำลังค้นหา :-
บทความที่น่าสนใจ
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
340 ลาดพร้าว 112 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร 0-2514-0593 แฟ็กซ์ 0-2538-4215 Email : [email protected]

Warning: include(../../main/globalsitemap.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/muslimpo/public_html/business/main/index.php on line 214

Warning: include(): Failed opening '../../main/globalsitemap.php' for inclusion (include_path='.:/usr/lib/php:/usr/local/lib/php') in /home/muslimpo/public_html/business/main/index.php on line 214