ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สามารถได้รับประโยชน์จากการมอบหมายงานให้องค์กรอื่นทำแทน (Outsourcing) ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่เรื่องของบุคลากร ไปจนถึงการเงินและบัญชี ตลอดจนบริการลูกค้า แต่การตัดสินใจเลือกใช้บริการ Outsourcing ต้องได้รับการวิเคราะห์อย่างถ่องแท้ เพราะต้องมีค่าใช้จ่าย การปรับตัวของคนในองค์กร ที่สำคัญคือ ความสามารถในการส่งมอบผลงานได้ตามความต้องการ
Joanna L.Krotz ได้ แนะนำเกร็ดความรู้ในการประเมินเพื่อเลือกผู้ที่จะมาทำงานแทน (Outsourcing) ไว้ใน “Microsoft Small Business Center”ว่า
- กำหนด บทบาทหลักขององค์กรให้ชัดเจน กลยุทธ์การบริหาร จัดการองค์กรที่ดี มักจะกำหนดกิจกรรมหลักไว้ชัดเจน และเน้นดำเนินงานตามกิจกรรมหลักนั้น ที่เหลือจะ Outsource ให้คนหรือหน่วยงานภายนอกทำงานแทน ตัวอย่างหน้าที่ที่ควร ได้รับการOutsource อาทิ (1) จัดหามืออาชีพมาให้บริการทางด้านต่างๆ เช่น กราฟฟิคดีไซน์ มัลติมีเดีย วิศวกรรม การขายและการตลาด การเขียนและการแปล เป็นต้น (2) บริการประชาสัมพันธ์สินค้าและองค์กร (3) บริการผู้ช่วยในการทำธุรกิจ ซึ่งมักจะเป็นผู้ประกอบการอิสระที่จะช่วยในเรื่องของการบริหาร สนับสนุนทางด้านเทคนิคและความคิดใหม่ๆ (4) บริการตัวแทนดูแลและติดตามงาน Outsource (5) บริการ E-commerce และ E-mail Marketing
- ขับ เคลื่อนอย่างช้าๆ โดยตั้งเป้าที่จะขยายเพิ่มขึ้นในอนาคต ข้อ ได้เปรียบของ Outsourcing จะแปรผันไปตามการบริการ ประเภทของธุรกิจ และคุณภาพของผู้ให้บริการ ดังนั้น ธุรกิจจะได้ประโยชน์ถ้าดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขยายข้อผูกมัดทีละเล็กละน้อย อย่าทำสัญญายาวถึง 2 ปีก่อนที่จะมีการทดสอบผลงานและความสัมพันธ์ระหว่างกัน และเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับพนักงานในองค์กร ในเบื้องต้น ควรทำโครงการ Outsourcing เพียงโครงการเดียวก่อน แล้วค่อยขยับขยายไปยังโครงการอื่นๆ
- ทำการประเมินอย่าง รอบคอบถึงความจำเป็นของการ Outsource โดย ทั่วไป โครงการที่ต้องการการทำงานเป็นทีมหรือการระดมความคิดร่วมกันมักจะไม่ค่อย ประสบความสำเร็จนักในการ Outsourcing แต่งานหรือโครงการที่ทำได้ด้วยตัวเองมักจะเหมาะกว่า
- คำนึง ถึงต้นทุนทางการบริหารให้ดี บางครั้ง บริการอาจดูดีเมื่อพิจารณาจากรายงาน แต่มักจะลงท้ายด้วยการมองข้ามต้นทุนบางอย่างที่เกิดขึ้น รวมทั้งการประหยัดในเรื่องของการฝึกอบรม
- เตรียม ความพร้อมสำหรับความท้าทาย ที่มาจากการต้องใช้ ระยะเวลาสำหรับสร้างสัมพันธภาพระหว่างธุรกิจ และผู้รับจ้างทำงานแทน (Outsourcer)
- อย่า เดินอย่างไม่เห็นทาง ควรเริ่มต้นจากการขอคำ ปรึกษา (ถ้าจำเป็นจริงๆ อาจต้องเสียค่าใช้จ่าย) เพื่อให้ได้คำตอบในการคัดเลือกผู้รับจ้างที่ดี รวมทั้งมีการติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด
- ระวัง เกี่ยวกับต้นทุนที่ซ่อนเร้น อาทิ เงินชดเชยการเลิกจ้าง ค่าล่วงเวลาสำหรับพนักงานที่ยังคงอยู่ซึ่งอาจมีงานที่ต้องทำเพิ่มขึ้น หรือต้นทุนทางด้านการติดต่อสื่อสารสำหรับพนักงานที่ทำงานห่างไกล
ตอบคำถาม ABCs ของ Outsourcing ให้ได้ชัดเจน คือ (1) การวางแนวทาง (A lignment) เพื่อตอบคำถามให้ได้ว่า Outsourcing เป็นการขับเคลื่อนที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจของเราหรือไม่ (2) กรณี ของธุรกิจ (B usiness case) ได้มีการนำ เอาต้นทุนทั้งหมดมารวมไว้แล้วหรือยัง (3)วัฒนธรรม (C ulture) ธุรกิจสามารถที่จะเชื่อมความสัมพันธ์อันดีกับผู้ รับจ้างทำงานแทนหรือไม่ (4) การส่งมอบงาน (D livery) ขึ้นอยู่กับว่าจะกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จได้อย่างไร
ที่มา http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=7058 |