การเตรียมความพร้อมสำหรับประเทศไทย
หลัง จากระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อเดือนมิถุนายน 2550 ได้มีการกำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนให้แล้วเสร็จ (เส้นตาย) โดยกำหนดเวลาการจดทะเบียนไว้ดังนี้
- ให้ เวลาเตรียมการตั้งแต่ 3 ปี (สิ้นสุดการขอจดทะเบียนวันที่ 30 พย.2553) สำหรับสารเคมีที่มีปริมาณการผลิตหรือนำเข้าต่อปีต่อรายมากกว่า 1,000 ตัน หรือสารกลุ่มที่เป็นปัญหา (CMR มากกว่า 1 ตัน และสารเคมีที่เป็นอันตรายมากกับสิ่งแวดล้อมมีชีวิตอาศัยในน้ำ (R50/53) มากกว่า 100 ตัน)
- ระยะเวลา 6 ปี (สิ้นสุดการขอจดทะเบียน 31 พค.2556) สำหรับสารเคมีที่มีปริมาณ 100-1,000 ตัน
- และระยะเวลา 11 ปี (สิ้นสุดการขอจดทะเบียน 31 พค.2561) สำหรับสารเคมีที่มีปริมาณตั้งแต่ 1-100 ตัน
นอกจากนั้น ยังมีเงื่อนไขกำหนดไว้เพิ่มเติมว่า จะเปิดให้มีการลงทะเบียนล่วงหน้า (Pre-registration) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 1 ธันวาคม 2551 โดยเป็นการให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่หน่วยงาน European Chemical Agency (ECHA) ของ คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งผู้ประกอบการรายใดจดทะเบียนล่วงหน้าจะสามารถขยายเวลาที่กำหนดไว้ออกไป ได้อีกระยะหนึ่ง แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสารและปริมาณที่ผลิตหรือนำเข้า
เพื่อให้เกิดความพร้อมต่อการเริ่มใช้มาตรการ REACH อย่าง จริงจัง ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับทั้งภาครัฐและเอกชน โดยในส่วนของภาครัฐ ต้องสร้างให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องกับกฎ ระเบียบ และข้อปฎิบัติให้กับผู้ประกอบการของไทยกลุ่มที่ต้องเกี่ยวข้อง สำหรับภาคเอกชนเอง คงต้องมีการรวบรวมรายการสารเคมีที่ใช้ทั้งหมด ตรวจสอบปริมาณที่ใช้ และดูว่าอยู่ในขอบข่ายของรายงานประเมินความปลอดภัย (SDS) หรือ ไม่ ถ้าไม่มีก็ต้องรีบแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานก่อนหน้าทราบ จัดให้มีการวิจัยและพัฒนาสารทดแทนที่ถูกระบุไว้ในข้อกำหนดของ REACH รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือในกลุ่มผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานทั้งในและต่างประเทศเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรอง
ที่มา http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=6890 |