ผลกระทบที่มีต่อธุรกิจของไทย
ผลกระทบของกฎ ระเบียบ REACH ต่อธุรกิจของไทยมีทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ กรณีของประเทศไทย ธุรกิจส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจะเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ (Article Producers) ซึ่งหมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นผู้ใช้สารเคมีเพื่อผลิตสินค้าเข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นผู้ผลิตสารเคมีและส่งไปขายในสหภาพยุโรป จากการศึกษาของ ศูนย์วิจัยแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุถึงผลกระทบต่อธุรกิจไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ไว้ว่าจะมีทั้งผลกระทบในเชิงลบ และผลกระทบในเชิงบวก
ผลกระทบในเชิงลบ คือ ภาระต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งจากการแต่งตั้งตัวแทนสำหรับการจด ทะเบียนในสหภาพยุโรป การเตรียมข้อมูลสำหรับจดทะเบียนสารเคมี (SDS) การถ่ายทอดข้อมูลให้กับคู่ค้าทุกช่วงในห่วงโซ่อุปทาน และการแบกรับภาระราคาสารเคมีที่สูงขึ้น
ในขณะเดียวกัน ตามระเบียบ REACH ได้ เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสารเคมีมีทางเลือกโดยการแจ้งข้อมูลระบุวัตถุประสงค์การ ใช้สารของตนให้ผู้ผลิตสารเคมีทราบ เพื่อให้ทำรายงานการประเมินความเสี่ยงครอบคลุมการใช้สารนั้นด้วยโดยที่ผู้ ซื้อสารเคมีหรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ไม่ต้องทำรายงานการประเมินความเสี่ยง แต่วิธีการให้ข้อมูลดังกล่าวอาจทำให้ความลับทางการค้ารั่วไหลได้ ทางหลีกเลี่ยงคือ ผู้ประกอบการคงต้องลงทุนทำรายงานการประเมินความเสี่ยงเองที่ต้องอาศัยองค์ ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำรายงานมากมาย แต่ความพร้อมของห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้การรับรองจากระบบ REACH ใน ประเทศไทยยังมีอยู่น้อย คงต้องหันไปพึ่งพาห้องปฎิบัติการของต่างประเทศ และที่สำคัญคือ บางครั้งผู้ประกอบการอาจต้องพึ่งพาแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีของต่าง ประเทศ เนื่องจากระบบนี้อนุญาตให้ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินความเป็นอันตรายของ สารที่มีผู้ทำการศึกษาไว้ก่อนหน้านี้ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อผู้ประกอบการที่จะต้องรู้แหล่งข้อมูล ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสิทธิการใช้ข้อมูลของผู้จดทะเบียนรายแรก และอาจถูกผู้จดทะเบียนรายแรกกีดกันมิให้ใช้ข้อมูลด้วยการหน่วงเหนี่ยว การยื่นฟ้องศาลเพื่อล้มล้างการกีดกันดังกล่าวจะใช้เวลานานในการพิจารณา ตัดสิน ทำให้ผู้ประกอบการเสียโอกาสทางการค้าได้
ผลกระทบอีกอย่างหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการไทยคือ อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายในการประเมินความเสี่ยงที่สูงจากการใช้สูตรหรือ องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการผลิตเดิมจากการใช้สารเคมีที่เข้าข่ายอยู่ในกระบวนการของ REACH
ผลกระทบในทางบวก อาทิเช่น การรวบรวมและจัดระบบข้อมูลสารเคมีที่ใช้ในการผลิตนับเป็นจุดเริ่มต้นของการ จัดการสารเคมีของผู้ประกอบการไทยอย่างเป็นระบบ ช่วยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยหันมาให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนามากขึ้น มีการใช้ข้อมูลและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการผลิตมากขึ้น หรือเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศสำหรับผู้ผลิตสารเคมี และผู้ใช้สารเคมีผลิตสินค้าในสหภาพยุโรปบางรายที่ได้รับผลกระทบและมีแนวโน้ม ต้องการย้ายฐานการผลิตให้อยู่นอกสหภาพยุโรป แต่กรณีนี้ คงต้องพึงระวังและพิสูจน์ให้ได้ว่าไม่มีสารหลงเหลือในผลิตภัณฑ์จริง
ที่มา http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=6889 |