ขั้นตอนของการปรับโครงสร้างหนี้
โดยทั่วไปในการปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินจะมีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้
1. กระบวนการปรึกษาหารือ (The consultation process) เนื่อง จาก การปรับโครงสร้างหนี้ โดยเฉพาะทางธุรกิจเป็นเพียงการทำข้อตกลงในการกู้เงินร่วมกัน ผู้ให้กู้จะเสาะแสวงหาโอกาสพูดคุยกับผู้ขอกู้เพื่อปรึกษาหารือกันอย่างเป็น ทางการ ซึ่งในการประชุมหารือกันดังกล่าว ผู้ให้กู้จะประเมินสถานะทางการเงินโดยรวมของผู้กู้/ธุรกิจ ในจุดนี้ข้อผูกพันทางการเงินต่างๆ ของผู้กู้/ธุรกิจจะถูกประเมินให้ค้านกับกระแสเงินสดปกติที่มีการคาดการณ์เอา ไว้ ด้วยเหตุนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ของธุรกิจขนาดเล็กจึงมีการทำงานที่มักจะแตกต่างจากของธุรกิจขนาดใหญ่
2. กระบวนการต่อรอง (The negotiation process) เมื่อ ขบวนการประเมินสถานะทางการเงินของผู้กู้/ธุรกิจเสร็จสิ้นลง ผู้ให้กู้จะทำการตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหนี้ของผู้กู้/ธุรกิจทั้งหมดทุกราย รวมทั้งผู้ขายทรัพย์สินด้วย วัตถุประสงค์หลักก็เพื่อให้ได้ข้อตกลงหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยอมรับกัน ได้ทั้งหมดของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเมื่อตกลงกันได้แล้ว ผู้ให้กู้จะได้ดำเนินการในทางปฎิบัติในลำดับขั้นตอนต่อไป
3. การจำหน่ายทรัพย์สิน (The liquidation of assets) การ จำหน่ายทรัพย์สินของผู้กู้/ธุรกิจ ในกรณีที่พบว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินการตามความเห็นร่วมกันของทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง ในบางกรณี การปรับโครงสร้างหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจเรียกร้องให้ผู้กู้/ธุรกิจต้อง ชำระหนี้จำนวนหนึ่ง (ส่วนใหญ่เป็นก้อนโต) ให้ก่อน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ผู้กู้/ธุรกิจเองคงหลีกเลี่ยงได้ยาก อาจต้องหันมาจำหน่ายทรัพย์สินบางส่วนออกไป แต่ส่วนใหญ่แล้ว กลยุทธ์ของการจำหน่ายทรัพย์สินนี้มักจะใช้ในกรณีของการที่จะให้ได้มาซึ่ง ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจกลับคืน
4. จุดเริ่มของกระบวนการปรับโครงสร้าง (The restructuring process starts) ขั้น ตอนนี้คือ การเซ็นต์สัญญาและการบังคับตามข้อตกลง ผู้กู้/ธุรกิจยินยอมตามจำนวนเงินกู้รวม รวมไปถึงรายละเอียดอื่นๆ อาทิ เงื่อนไขการชำระเงินรายเดือน อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาของการชำระเงิน ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้กู้/ธุรกิจอยู่ภายใต้แผนการปรับโครงสร้างหนี้ อย่างเป็นทางการแล้ว ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาอย่างเคร่งครั
ที่มา http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=6108 |