เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศไทย
เศรษฐกิจ สร้างสรรค์เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในประเทศไทย เนื่องจาก อุตสาหกรรมสร้างสรรค์มีสัดส่วนของรายได้ประชาชาติสูงถึงร้อยละ 10-11 ต่อปี และมีแนวโน้มการเติบโตสูงมาอย่างต่อเนื่อง โดย Functional creation เป็น กลุ่มที่มีสัดส่วนรายได้ประชาชาติสูงสุด แต่ทั้งสัดส่วนและการเติบโตของการส่งออกในโลกยังต่ำมาก สินค้าประเภทนี้ที่สามารถครองสัดส่วนทางการตลาดส่งออกได้สูงคือ ผลิตภัณฑ์เซรามิค ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อยู่ระหว่างการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง และในเบื้องต้น ได้จำแนกประเภทอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ออกเป็น 4 กลุ่มเช่นเดียวกับของ UNCTAD คือ
กลุ่มมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural heritage) ประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมทางด้านงานฝีมือ การท่องเที่ยวในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม อาหารไทย และยาพื้นบ้านไทย
กลุ่มศิลปะ (Arts) ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมทางด้านงานศิลปะ และศิลปะการแสดง
กลุ่มสื่อ (Media) ประกอบด้วย งานหนังและภาพยนต์ งานพิมพ์ งานกระจายภาพและเสียง และงานเพลง
กลุ่ม Functional Creation ประกอบด้วย การออกแบบ แฟชั่น สถาปัตย์ การโฆษณา และซอฟท์แวร์
เศรษฐกิจ สร้างสรรค์เป็นรูปแบบหนึ่งที่เรียกได้ว่ามีอยู่แล้ว เพียงแต่เป็นการนำมาผสมผสานและเรียบเรียงใหม่ โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และแตกต่างของแต่ละ “ปัจเจกชน” และ “ประเทศ” มาสร้างให้เกิดความมั่งคั่งของบุคคล และของประเทศ ซึ่งระบบเศรษฐกิจทุกรูปแบบที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมาล้วนแล้วแต่มีแนวคิดและ วิธีปฎิบัติที่เป็นประโยชน์สำหรับนำมาใช้ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละสภาวะการณ์ และความรู้ ความสามารถในการประยุกต์ใช้ สิ่งที่ SMEs ควร คำนึงถึง คือ ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากตัวบุคคลที่ทำงานในองค์กรของทุกขนาดไม่ว่าเล็กหรือ ใหญ่ ในขณะเดียวกัน การตัดสินใจจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการแลกเปลี่ยนความคิดอย่างเสรี และมีการตัดสินใจที่จะเลือกความคิดเหล่านั้นมาปฎิบัติ ซึ่งจากธรรมชาติการดำเนินธุรกิจของ SMEs ที่ค่อนข้างจะแตกต่าง ทำให้อาจไม่เหมาะกับแนวคิดนี้โดยตรง ต้องมีการประยุกต์ใช้ในส่วนที่สามารถทำได้
ที่มา http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=5917 |